ถ้าคุณตัดสินใจได้แล้วว่าบ้านของคุณนั้นควรที่จะต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่น วันนี้เราลองมาดูกันดีกว่าครับว่าเราจะมีวิธีเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นกันได้อย่างไร ส่วนคนยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นหรือเครื่องทำน้ำร้อนดี แนะนำให้ไปอ่านที่นี้ครับ
มาเริ่มกันเลยดีกว่ากับวิธีการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น
เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดกี่วัตต์
ขนาดของวัตต์จะส่งผลโดยตรงกับค่าไฟและความร้อนที่เครื่องทำน้ำอุ่นสามารถทำได้ ยิ่งวัตต์สูงๆน้ำยิ่งร้อนครับ ถ้าอยู่ในจังหวัดที่มีอากาศหนาวมากๆ เช่น ภาคเหนือหรือภาคอีสานตอนบนๆ แบบนี้ต้องใช้ 4500 วัตต์ขึ้นไปครับ ไม่งั้นตอนที่อากาศหนาวมากๆแล้วซื้อแบบวัตต์น้อยๆ จะได้แค่น้ำไม่เย็นมาก ฮ่าๆๆๆๆๆ
แต่ช้าก่อนครับ ไม่ใช่ว่าเราจะเลือกขนาดของเครื่องทำน้ำอุ่นได้ตามใจฉัน ตามใจชอบ พอมันเกี่ยวกับเครื่องไฟฟ้าแล้วล่ะก็ เราก็ต้องดูด้วยว่าบ้านของเราติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากๆแบบนี้ได้หรือเปล่า ซึ่งผมจะอธิบายในข้อถัดไปครับ **ข้อถัดไปมันเกี่ยวกับไฟฟ้า ผมขออธิบายคร่าวๆ ตามที่ผมเข้าใจนะครับ ถ้าไม่ละเอียดในจุดไหนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ**
มอเตอร์ไฟติดไว้กี่แอมป์
ถ้าใครจำไม่ได้ลองไปดูเสาหน้าบ้านได้เลยครับ จะมีเขียนได้ เช่น 5(15)A หรือ 10(30)A ซึ่งค่านี้ล่ะ ที่จะบอกว่าเราสามารถติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นไว้ขนาดสูงสุดไม่เกินกี่วัตต์ครับ โดยท่านจะสามารถหาค่าได้เองจากสมการด้านล่าง
P = V * A
โดย P คือ Watt ที่คุณใช้งานได้
V คือ Volt ที่ไทยใช้ 220V
A คือ ค่าที่ไปอ่านมาจากมอเตอร์ไฟครับ โดยใช้เลขในวงเล็บ เช่น 220 * 15 = 3300 หมายความว่า เราได้ค่าประมาณการของเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องมี Watt ไม่ควรเกิน 3300 ครับ แต่จริงๆแล้วเครื่องทำน้ำอุ่นมีขนาด 3500W ครับ ซึ่งใช้ได้นะครับ
เหตุผลมาจากตัวเลขที่เขียนไว้ที่มอเตอร์ไฟหน้าบ้านของท่านครับ 5(15)A คือ มอเตอร์สามารถรับไฟ 5 แอมป์ได้ทั้งวัน แต่จะทนทานสูงสุดที่ 15 แอมป์ได้ไม่นาน
สรุปคร่าวๆ
สำหรับ 5(15)A ใช้ได้กับเครื่องทำน้ำอุ่น 3500W ไม่ควรเกินนี้นะครับ
สำหรับ 15(45)A ท่านเลือกได้เลยครับว่าจะใช้ 4500W หรือ 6000W สบายมาก
ระบบความปลอดภัย
เนื่องจากเครื่องทำน้ำอุ่นใช้ไฟฟ้าเยอะมาก ดังนั้นการที่มีเหตุไฟขัดข้องกับเครื่องทำน้ำอุ่นคงไม่ดีเป็นแน่แท้ ดังนั้นเราต้องดูระบบความปลอดภัยก่อนเลย ประหนึ่งซื้อรถท่านต้องดูว่ามี ABS/Airbag ไหม!!! นั่นคือ ระบบ ELCB หรือ ELB และระบบแบบใหม่ ESD ที่เป็นวงจรอิเลคทรอนิคแบบใหม่ ตามความคิดเห็นส่วนตัวและความรู้สึก + ประสบการณ์ + มโน ผมชอบแบบเก่า(ELB)มากกว่าครับ เพราะเห็นที่คนอื่นบ่นๆกันก็มักจะเป็น ESD นี้ล่ะที่เสีย
เนื่องจากเครื่องทำน้ำอุ่นใช้ไฟฟ้าเยอะมาก ดังนั้นการที่มีเหตุไฟขัดข้องกับเครื่องทำน้ำอุ่นคงไม่ดีเป็นแน่แท้ ดังนั้นเราต้องดูระบบความปลอดภัยก่อนเลย ประหนึ่งซื้อรถท่านต้องดูว่ามี ABS/Airbag ไหม!!! นั่นคือ ระบบ ELCB หรือ ELB และระบบแบบใหม่ ESD ที่เป็นวงจรอิเลคทรอนิคแบบใหม่ ตามความคิดเห็นส่วนตัวและความรู้สึก + ประสบการณ์ + มโน ผมชอบแบบเก่า(ELB)มากกว่าครับ เพราะเห็นที่คนอื่นบ่นๆกันก็มักจะเป็น ESD นี้ล่ะที่เสีย
สำหรับยี่ห้อจากญี่ปุ่น เช่น ชาร์ป พานาโซนิค จะใช้ ELB แบบแรกเป็นส่วนมากครับ เพราะทน ถึก อะไหล่หาง่าย ตลาดนิยม ช่างไทยรู้จัก ฮ่าๆๆๆๆ
ดูค่า IP
IP อะไร IP Address หรือเปล่า? ฮ่าๆๆๆ ผมก็งงครับ เครื่องทำน้ำอุ่นทำไมมันมี IP ด้วย จริงๆแล้วค่า IP คือ ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อดูว่า รุ่นนี้มีค่าการป้องกันน้ำเข้าดีแค่ไหน เพราะว่าเครื่องทำน้ำอุ่นมันอยู่ใกล้น้ำ โดนน้ำแน่ๆ ดังนั้นเขาเลยมีมาตรฐานมาให้ดูว่ารุ่นนี้น่ะสามารถป้องกันดีแค่ไหน โดยค่า IP จะมีเลข สองตัว และเลขแต่ล่ะตัวมีค่ายิ่งมาก ยิ่งดีครับ แต่ถ้าเป็น x หมายความว่าไม่ได้ทดสอบ
เลขตัวแรก - บอกถึงความสามารถในการป้องกันฝุ่นและของแข็ง
เลขตัวสอง - บอกถึงความสามารถในการป้องกันน้ำ
ถ้าเพื่อนๆลองไปดูจะเห็นเลยว่า บางยี่ห้อ เช่น Panasonic จะโฆษณาเลยว่า IP25 น่ะ อันนี้ดีนะ แปลว่ากันฝุ่นหรือของแข็งได้ 2 และกันน้ำได้ 5 ซึ่งผมเลยบอกว่า บางยี่ห้อแม่งได้ IPx1 แปลว่า กันน้ำได้แค่ 1 และไม่ได้ทดสอบการกันฝุ่นครับ
สำหรับท่านที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับค่า IP เพิ่มเติมอ่านต่อได้ที่นี้ครับ
ท่อน้ำเข้า - น้ำออก
ที่ให้ดูท่อน้ำเข้า - น้ำออกเพราะว่า มันจะส่งผลเรื่องความแรงของน้ำครับ บางยี่ห้อบอกว่าประหยัดไฟ แต่พอผมไปดูท่อน้ำ ปรากฏว่ามันมีขนาดเล็กกว่าอีกยี่ห้อ แบบนี้ก็ต้องประหยัดไฟและประหยัดน้ำจิ เพราะว่าน้ำผ่านไปน้อยกว่า ทำให้อาบน้ำแล้วอยากได้น้ำอุ่นแรงกว่านี้ สำหรับยี่ห้อที่ผมว่าน้ำแรงๆ จากประสบการณ์ ผมชอบเครื่องทำน้ำอุ่นชาร์ป น้ำแรงดีครับ แต่ถ้าเพื่อนๆมียี่ห้อไหนแนะนำก็มาบอกกันได้เลยนะครับ เพราะว่าผมก็เคยใช้ไม่กี่ยี่ห้อ และไม่แพงมากด้วย ฮ่าๆๆๆ
ประหยัดไฟ
ตอนนี้มีเครื่องทำน้ำอุ่นมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แล้วครับ ทำให้เราเลือกกันง่ายขึ้นอีก เพราะถ้าเป็นเมื่อก่อน เราต้องดูเองว่าถังน้ำร้อนในเครื่องมีฉนวนหุ้มไว้ไหม เพราะว่ามีเนี่ยจะช่วยรักษาความร้อนและประหยัดไฟขึ้นอีก 10% - 20% เลย แต่การดูฉลากประหยัดไฟ ก็อยากให้ดูนิดนึงว่าในฉลากเขียนว่า ทดสอบที่ กำลังไฟฟ้ากี่วัตต์ครับ เพราะคุณอาจจะไปเจอว่า เครื่องทำน้ำอุ่น 4500W แต่ฉลากเบอร์ 5 บอกว่าทดสอบที่ 4200 วัตต์ แบบนี้ไม่ดีครับ แสดงว่าทำงานไม่เต็มที่ ตัวผมเองรู้สึกว่า แบบนี้มันโกงกันงะ ตอนที่โฆษณาบอกว่า 4500 วัตต์ แต่ทำงานจริงแค่ 4200 วัตต์ อารมณ์เหมือนแอร์ทำงานไม่เต็มบีทียูครับ ฮ่าๆๆๆๆๆ
โดย buildsweethome.blogspot.com
อ้อ แล้วเครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นใหม่ๆจะมีระบบที่ฉีดอากาศเข้าไป แทรกระหว่างน้ำ ทำให้ใช้พลังงานน้อยลงในการทำให้น้ำร้อนขึ้น จึงส่งผลให้ประหยัดไฟมากกว่าเดิม 40% แต่ให้ความรู้สึกตอนอาบน้ำว่าปริมาณน้ำไม่ได้ลดลงไป เนื่องจากมีฟองอากาศไปแทรกอยู่ แบบนี้ก็มีน่ะครับ แต่มันแพง T_T ผมไม่ได้ใช้ ถ้าเพื่อนๆคนไหนใช้แล้วเป็นไง มาเล่าให้ฟังด้วยครับ ว่าดีสมคำโฆษณาไหม ฮ่าๆๆๆ