หนึ่งในระบบที่เราควรคิดและวางแผนในตอนที่สร้างหรือซ่อมบ้าน นั่นก็คือ เรื่องของท่อน้ำเข้าบ้านครับ เพราะว่าถ้าเรามีการวางทางเดินท่อน้ำเข้าบ้านที่ดี จะทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นด้วย ซึ่งในวันนี้เราลองมาดูกันดีกว่าครับว่าการวางแผนท่อน้ำเข้าบ้าน เราต้องพิจารณาเรื่องใดบ้าง
ที่ติดตั้งถังสำรองน้ำ
ปกติแล้วท่อน้ำเข้าบ้าน ก็จะมาเก็บที่ถังสำรองน้ำในบ้าน โดยสามารถแบ่งได้เป็น ถังสำรองน้ำตั้งไว้ระดับผิวดิน(ตั้งบนพื้นหรือฝั่งดิน) และถังสำรองน้ำตั้งไว้ที่สูงหรือชั้นดาดฟ้า
ถังสำรองน้ำตั้งไว้ระดับผิวดิน - บ้านสมัยใหม่ตอนนี้จะตั้งถังสำรองน้ำไว้ที่ระดับผิวน้ำเกือบทั้งหมดแล้วครับ ซึ่งสามารถตั้งไว้บนพื้นเลยก็ได้หรือจะฝั่งดินก็ได้ โดยเราสามารถดูได้จากความแรงของน้ำจากท่อน้ำหน้าบ้านของเราครับ ถ้าน้ำจากท่อ main มันแรงเราก็ตั้งไว้บนพื้นเลยก็ได้ แล้วให้น้ำค่อยๆไหลเข้าบ้านเอง แต่สำหรับบางพื้นที่ น้ำจากท่อหลักไหลค่อยจริงๆ โดยเฉพาะต่างจังหวัดเราก็อาจจะต้องฝั่งถังสำรองน้ำลงดินเลยครับ ทีนี้ลองมาดูการข้อดี-ข้อเสียของการตั้งถังสำรองน้ำบนพื้นกับการฝั่งดินกันดีกว่าครับ
ข้อดี-ข้อเสียตั้งถังสำรองน้ำบนพื้น - ข้อดีสุดๆที่คนส่วนมากชอบก็คือ ค่าติดตั้ง ค่าอุปกรณ์มีราคาถูกครับ แถมยังดูแลทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย ส่วนข้อเสียที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ มันทำให้เสียพื้นที่วางแท็งค์น้ำครับ และยังเกะกะสายตาอีกด้วย
ข้อดี-ข้อเสียฝั่งถังสำรองน้ำลงดิน - ข้อดีที่หลายๆคนยอมลงทุนก็คือ ทำให้บ้านมีพื้นที่มากขึ้นครับ ไม่มีถังน้ำมาเกะกะสายตาด้วย และสามารถใช้ในพื้นที่ที่ท่อน้ำหน้าบ้านไหลไม่แรงได้ด้วย ส่วนข้อเสียหลักๆก็คือเรื่องค่าใช้จ่าย กับการดูแลรักษาครับ เพราะว่าเราฝั่งแท็งค์น้ำลงดินแล้ว ถ้าเกิดการรั่วซึมขึ้นมาก็ตรวจเช็คได้ยากครับ
ตั้งถังสำรองน้ำไว้ที่สูง - ตอนนี้ผมไม่ค่อยเห็นบ้านสมัยใหม่ทำแบบนี้แล้วน่ะครับ เพราะการที่จะตั้งถังสำรองน้ำไว้ชั้นบนได้ นั่นหมายความว่า บ้านของคุณต้องออกแบบรองรับน้ำหนักของน้ำเป็นตันเลย! เพราะถังสำรองน้ำขนาดที่ใช้กันทั่วไปก็ 1,000 ลิตรครับ นั่นคือหนัก 1 ตัน! และบ้านบางหลังที่อยู่กันหลายๆคนก็อาจจะต้องใช้ถังสำรองน้ำขนาด 2,000 ลิตรเลย ซึ่งแปลว่าบ้านคุณต้องรับน้ำหนัก 2 ตันไว้ชั้นบน! แต่ข้อดีของการตั้งถังสำรองน้ำไว้ชั้นดาดฟ้ามันก็มีน่ะครับ นั่นก็คือ ถ้าเราตั้งไว้สูงมากพอ เราไม่จำเป็นต้องใช้ปั๊มน้ำในเวลาใช้น้ำเลยครับ ทำให้เราสามารถใช้น้ำในเวลาที่ไฟดับได้ครับ
ขนาดถังสำรองน้ำ
ทีนี้พอเรามีตำแหน่งติดตั้งถังสำรองน้ำไว้แล้ว สิ่งที่เราต้องพิจารณาต่อมาก็คือ ขนาดของถังสำรองน้ำครับ ตามปกติแล้วถ้าที่บ้านอยู่กันไม่เกิน 5 คนใช้ถังสำรองน้ำขนาด 1,000 ลิตรก็พอครับ แต่ถ้าอยู่กัน 8-10 คนอาจจะพิจารณาถังขนาด 1,600 - 2,000 ลิตรครับ โดยดูจากพื้นที่ติดตั้งและที่บ้านใช้น้ำกันเยอะเป็นประจำหรือเปล่า
ระบบสำรองเวลาไฟดับ
เรื่องต่อมาที่เราต้องดูก็คือ ถ้าหากไฟฟ้าดับน้ำที่บ้านก็ควรใช้น้ำได้ เพียงแต่ความแรงของน้ำจะขึ้นอยู่กับความแรงของท่อ main หน้าบ้านของเรา ซึ่งการวางระบบสำรองเพื่อใช้ในเวลาที่ไฟฟ้าดับนานๆนั้น มีการวางได้หลายอย่างมากๆ คิดว่าต้องเขียนแยกไปอีกบทความดีกว่าครับ
ก๊อกน้ำที่ไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำ
สำหรับสิ่งสุดท้ายที่ผมนึกออกในวันนี้ก็คือ ตำแหน่งก๊อกน้ำที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผ่านปั๊มน้ำ เพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟด้วยครับ เพราะตามปกติแล้วน้ำที่ชั้นหนึ่งใกล้ๆท่อน้ำหน้าบ้านจะมีความแรงพอสมควร ซึ่งเราสามารถใช้ในการรดน้ำต้นไม้ ล้างจาน ซักผ้าได้เลย แถมเรายังสามารถเพิ่มความแรงของน้ำได้โดยการซื้อหัวฉีดน้ำมาต่อกับสายยางได้อีกด้วย ซึ่งที่บ้านผมก็ทำแบบนี้ ทำให้สามารถใช้ฉีดน้ำล้างรถได้เลย โดยที่ไม่เปลืองค่าไฟในจากการทำงานของปั๊มน้ำ และเวลาที่ไฟดับเราก็ยังใช้น้ำได้อยู่
ที่ติดตั้งถังสำรองน้ำ
ปกติแล้วท่อน้ำเข้าบ้าน ก็จะมาเก็บที่ถังสำรองน้ำในบ้าน โดยสามารถแบ่งได้เป็น ถังสำรองน้ำตั้งไว้ระดับผิวดิน(ตั้งบนพื้นหรือฝั่งดิน) และถังสำรองน้ำตั้งไว้ที่สูงหรือชั้นดาดฟ้า
ถังสำรองน้ำตั้งไว้ระดับผิวดิน - บ้านสมัยใหม่ตอนนี้จะตั้งถังสำรองน้ำไว้ที่ระดับผิวน้ำเกือบทั้งหมดแล้วครับ ซึ่งสามารถตั้งไว้บนพื้นเลยก็ได้หรือจะฝั่งดินก็ได้ โดยเราสามารถดูได้จากความแรงของน้ำจากท่อน้ำหน้าบ้านของเราครับ ถ้าน้ำจากท่อ main มันแรงเราก็ตั้งไว้บนพื้นเลยก็ได้ แล้วให้น้ำค่อยๆไหลเข้าบ้านเอง แต่สำหรับบางพื้นที่ น้ำจากท่อหลักไหลค่อยจริงๆ โดยเฉพาะต่างจังหวัดเราก็อาจจะต้องฝั่งถังสำรองน้ำลงดินเลยครับ ทีนี้ลองมาดูการข้อดี-ข้อเสียของการตั้งถังสำรองน้ำบนพื้นกับการฝั่งดินกันดีกว่าครับ
ข้อดี-ข้อเสียตั้งถังสำรองน้ำบนพื้น - ข้อดีสุดๆที่คนส่วนมากชอบก็คือ ค่าติดตั้ง ค่าอุปกรณ์มีราคาถูกครับ แถมยังดูแลทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย ส่วนข้อเสียที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ มันทำให้เสียพื้นที่วางแท็งค์น้ำครับ และยังเกะกะสายตาอีกด้วย
ข้อดี-ข้อเสียฝั่งถังสำรองน้ำลงดิน - ข้อดีที่หลายๆคนยอมลงทุนก็คือ ทำให้บ้านมีพื้นที่มากขึ้นครับ ไม่มีถังน้ำมาเกะกะสายตาด้วย และสามารถใช้ในพื้นที่ที่ท่อน้ำหน้าบ้านไหลไม่แรงได้ด้วย ส่วนข้อเสียหลักๆก็คือเรื่องค่าใช้จ่าย กับการดูแลรักษาครับ เพราะว่าเราฝั่งแท็งค์น้ำลงดินแล้ว ถ้าเกิดการรั่วซึมขึ้นมาก็ตรวจเช็คได้ยากครับ
ตั้งถังสำรองน้ำไว้ที่สูง - ตอนนี้ผมไม่ค่อยเห็นบ้านสมัยใหม่ทำแบบนี้แล้วน่ะครับ เพราะการที่จะตั้งถังสำรองน้ำไว้ชั้นบนได้ นั่นหมายความว่า บ้านของคุณต้องออกแบบรองรับน้ำหนักของน้ำเป็นตันเลย! เพราะถังสำรองน้ำขนาดที่ใช้กันทั่วไปก็ 1,000 ลิตรครับ นั่นคือหนัก 1 ตัน! และบ้านบางหลังที่อยู่กันหลายๆคนก็อาจจะต้องใช้ถังสำรองน้ำขนาด 2,000 ลิตรเลย ซึ่งแปลว่าบ้านคุณต้องรับน้ำหนัก 2 ตันไว้ชั้นบน! แต่ข้อดีของการตั้งถังสำรองน้ำไว้ชั้นดาดฟ้ามันก็มีน่ะครับ นั่นก็คือ ถ้าเราตั้งไว้สูงมากพอ เราไม่จำเป็นต้องใช้ปั๊มน้ำในเวลาใช้น้ำเลยครับ ทำให้เราสามารถใช้น้ำในเวลาที่ไฟดับได้ครับ
ขนาดถังสำรองน้ำ
ทีนี้พอเรามีตำแหน่งติดตั้งถังสำรองน้ำไว้แล้ว สิ่งที่เราต้องพิจารณาต่อมาก็คือ ขนาดของถังสำรองน้ำครับ ตามปกติแล้วถ้าที่บ้านอยู่กันไม่เกิน 5 คนใช้ถังสำรองน้ำขนาด 1,000 ลิตรก็พอครับ แต่ถ้าอยู่กัน 8-10 คนอาจจะพิจารณาถังขนาด 1,600 - 2,000 ลิตรครับ โดยดูจากพื้นที่ติดตั้งและที่บ้านใช้น้ำกันเยอะเป็นประจำหรือเปล่า
ระบบสำรองเวลาไฟดับ
เรื่องต่อมาที่เราต้องดูก็คือ ถ้าหากไฟฟ้าดับน้ำที่บ้านก็ควรใช้น้ำได้ เพียงแต่ความแรงของน้ำจะขึ้นอยู่กับความแรงของท่อ main หน้าบ้านของเรา ซึ่งการวางระบบสำรองเพื่อใช้ในเวลาที่ไฟฟ้าดับนานๆนั้น มีการวางได้หลายอย่างมากๆ คิดว่าต้องเขียนแยกไปอีกบทความดีกว่าครับ
ก๊อกน้ำที่ไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำ
สำหรับสิ่งสุดท้ายที่ผมนึกออกในวันนี้ก็คือ ตำแหน่งก๊อกน้ำที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผ่านปั๊มน้ำ เพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟด้วยครับ เพราะตามปกติแล้วน้ำที่ชั้นหนึ่งใกล้ๆท่อน้ำหน้าบ้านจะมีความแรงพอสมควร ซึ่งเราสามารถใช้ในการรดน้ำต้นไม้ ล้างจาน ซักผ้าได้เลย แถมเรายังสามารถเพิ่มความแรงของน้ำได้โดยการซื้อหัวฉีดน้ำมาต่อกับสายยางได้อีกด้วย ซึ่งที่บ้านผมก็ทำแบบนี้ ทำให้สามารถใช้ฉีดน้ำล้างรถได้เลย โดยที่ไม่เปลืองค่าไฟในจากการทำงานของปั๊มน้ำ และเวลาที่ไฟดับเราก็ยังใช้น้ำได้อยู่
โดย buildsweethome.blogspot.com
ถ้าเพื่อนๆมีอะไรอยากเพิ่มเติมก็มาบอกกันได้เลยครับ ขอบคุณครับ